การทำตลาดเพื่อขายแฟรนไชส์

เมื่อร้านขายดี มีคนมาขอซื้อแฟรนไชส์ เจ้าของร้านมักตื่นเต้น อยากขายแฟรนไชส์ หรือ บางกิจการมีแผนขยายธุรกิจ มองว่าแฟรนไชส์ คือกลยุทธ์ที่ใช่ หรือ บางรายวางแผนการใหญ่ต้องการขยายธุรกิจไป AEC

แต่ก็ไม่รู้ว่า จะเริ่มต้นยังไง ถ้าคิดจะขายธุรกิจให้คนอื่นนำไปดำเนินกิจการ ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะให้ธุรกิจแฟรนไชส์ขายดิบ ขายดี เป็นที่ต้องการนักลงทุนที่อยากทำธุรกิจด้วยแฟรนไชส์ มาดูพร้อมๆ กับ www.ThaiSMEsCenter.com กันได้เลยครับ

ขายแฟรนไชส์ต้องทำอะไรบ้าง

อยากขายแฟรนไชส์

1.หาความรู้อย่างรู้ลึก รู้จริง

แน่นอนว่า ถ้าคุณทำแฟรนไชส์โดยไม่มีความรู้จริง ก็ย่อมไม่สำเร็จ ดังนั้นหากคุณต้องขยายธุรกิจด้วยแฟรนไชส์ ขั้นตอนแรกต้องมีความรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์เสียก่อน ซึ่งทางสมาคมแฟรนไชส์ไทย มีเปิดอบรมเรื่องการสร้างระบบแฟรนไชส์ 30 ชั่วโมง ทุกปี จัดเป็นประจำ ปีละ 1-2 ครั้ง ที่สามารถหาความรู้ได้จากการเข้าอบรมในโปรแกรมนี้

นอกจากนี้แล้วยังมีหนังสือ คู่มือการสร้างระบบแฟรนไชส์ ของสมาคมแฟรนไชส์ สามารถหาซื้อมาอ่านได้ จากเว็บไซต์ www.thaifranchisecenter.com หรืออาจจะหาผู้รู้ ที่มีประสบการณ์มาก่อนให้คำแนะนำ หรือ เข้าหาความรู้จากหน่วยงานของสมาคม และหน่วยงานภาครัฐ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

e7

2.ประเมินความเป็นไปได้

ใช่ว่าทุกกิจการคิดจะขายแฟรนไชส์ก็ขายได้ทันที กิจการที่จะขายแฟรนไชส์ได้นั้น ต้องมีความพร้อมในระดับหนึ่ง คือต้องเป็นกิจการที่มีกำไรมาแล้ว มีร้านสาขาอยู่บ้าง และมีอายุธุรกิจนานพอที่จะเอาประสบการณ์มาถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้

ดังนั้น ก่อนที่กิจการใดก็ตามที่คิดจะขายแฟรนไชส์ต้องมีการวิเคราะห์ความเป็นไปในธุรกิจของตัวเองว่า พร้อมหรือยังและอยู่ในระดับใด ซึ่งการขายแฟรนไชส์โดยที่ยังไม่พร้อม จะไม่สำเร็จ และจะเกิดปัญหามากมายตามมา จนต้องกลับไปสู่จุดเริ่มต้นใหม่ หรือเลิกไปเลย อย่างที่เคยเกิดขึ้นบ่อยครั้ง

e8

3.จัดระเบียบธุรกิจใหม่ หรือ ทำร้านต้นแบบ

ทุกกิจการย่อมต้องพัฒนาตลอดเวลา ดังนั้นก่อนการขายแฟรนไชส์ จะต้องมีการจัดระเบียบการดำเนินงานร้านเสียก่อน ส่วนที่ดีอยู่แล้ว ก็กำหนดขึ้นเป็นมาตรฐานการทำงาน สิ่งที่ยังไม่ดีก็จัดระเบียบใหม่

เพื่อสร้างความเป็นมาตรฐาน เพื่อให้ร้านต่อไปได้ปฏิบัติตาม อย่างเป็นรูปแบบเดียวกัน เพื่อให้ได้คุณภาพสินค้า การบริการ และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้เหมือนกันทุกร้าน ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่า ทำเป็นร้านต้นแบบ หรือสร้างเป็นร้านตัวอย่างในแบบที่ต้องการขายแฟรนไชส์

เพื่อศึกษารายละเอียดและผลตอบรับในทุกแง่มุม ถ้าจะให้ดีให้ร้านต้นแบบนั้นอาจบริหารจัดการโดยผู้อื่น ที่ไม่ใช่คุณเป็นเจ้าของร้าน เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่าถ้ามีการขายแฟรนไชส์ และดำเนินกิจการตามรูปแบบที่วางไว้ จะมีโอกาสสร้างกำไรให้กับกิจการได้อย่างต่อเนื่องในร้านต่อๆไป

e9

4.ประมาณการ โครงสร้างทางการเงิน

ที่สำคัญยิ่ง ร้านต้นแบบนี้ จะนำมาใช้วางโครงสร้างทางการเงิน เช่น ถ้าการเปิดแฟรนไชส์ 1 แห่ง จะมีรายละเอียดในการลงทุนอย่างไร มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง จุดคุ้มทุนจะอยู่ลูกค้ากี่คน ยอดขายที่จะคุ้มค่าใช้จ่ายต่อเดือนอยู่ที่ตัวเลขประมาณเท่าไหร่ และเป้าหมายควรมีลูกค้าขั้นต่ำเท่าไหร่

โอกาสที่จะได้เงินลงทุนคืนประมาณกี่ปี และคุ้มไหม ที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะมาลงทุนทำธุรกิจนี้ ร้านต้นแบบจะทำให้ได้ภาพที่ชัดขึ้น และมีตัวเลขที่เข้าใกล้ความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งส่วนนี้ จะมีความสำคัญต่อการกำหนด การเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ (Franchise Fee) และ ค่าธรรมเนียมรายเดือน (Royalty Fee) ด้วย

e14

5.สร้างแบรนด์ สร้างชื่อให้เป็นที่รู้จัก

หน้าที่สำคัญของผู้ขายแฟรนไชส์ ก็คือการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก ซึ่งก็เท่ากับเป็นการสร้างรายได้เข้าให้กับบริษัทแม่เอง หลายคนเดินผิดทาง มีจุดหมายขายแฟรนไชส์ เพื่อหวังค่าธรรมเนียมแรกเข้าอย่างเป็นกอบเป็นกำ โดยไม่ได้เอาใจใส่ในการทุ่มทุน ทุมแรงในการสร้างแบรนด์ และทำการตลาดให้สินค้า-บริการ ของตัวเองให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในวงกว้าง

ซึ่งจะนำมาสู่ยอดขายที่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ ให้กับร้านแฟรนไชซี่ และเป็น Key Success ที่จะย้อนกลับมาที่บริษัทแม่อย่างมั่นคงกว่า ในรูปของค่าธรรมเนียมรายเดือน ซึ่งรายได้ที่แท้จริงจากการทำระบบแฟรนไชส์ บริษัทผู้ขาย แฟรนไชส์ส่วนมาก ที่ไปไม่ถึงฝั่งฝัน เพราะขาดทักษะในการสร้างแบรนด์ หรือการทำการตลาดเพื่อสร้างเม็ดเงินเข้าร้านอย่างต่อเนื่อง

e11

6.วางโรดแม็พในการขยายธุรกิจ

ผู้ที่ขายแฟรนไชส์ จะต้องมีแผนการอยู่ในใจว่าต้องการขยายธุรกิจอย่างไร เช่น เปิดเพิ่มในปีหน้า 100 สาขา หรือ ออกตัวแบบนิ่มๆไปก่อน 2 สาขา จะเห็นว่า การตั้งเป้าหมายทั้ง 2 แบบนี้ต่างกันสุดขั้ว

การวางเป้าหมายมีความสำคัญ สำหรับกำหนดทิศทาง ว่ากิจการจะเดินไปอย่างไรจะทำอะไรบ้าง แค่ไหน อย่างไร เช่น การใช้งบการตลาด การเตรียมสรรหาพื้นที่ การจัดเตรียมบุคลากร การหาเงินทุน การทำการตลาดเพื่อขายแฟรนไชส์ เป็นต้น เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางเอาไว้

e13

7.การจัดทำคู่มือ การอบรม และระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจ

คู่มือการดำเนินธุรกิจ คือ หัวใจของแฟรนไชส์ และเป็นกระบวนการที่ต้องมี ในการทำระบบแฟรนไชส์ คุณจะถ่ายทอดประสบการณ์ทางธุรกิจที่มีมานานนับสิบปีให้แก่ผู้อื่นได้อย่างไร

และจะควบคุมการทำงานให้ราบรื่น มีมาตรฐานเดียวกันทุกแห่งได้อย่างไร คุณต้องจัดทำคู่มือดำเนินงาน สร้างระบบการอบรม ทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติ ตามคู่มือที่กำหนดไว้ รวมไปถึงการสร้างระบบตรวจสอบ เพื่อควบคุมมาตรฐานของร้านตามที่กำหนดไว้

นอกจากการจัดเตรียม ความพร้อมแล้ว ก่อนการขายแฟรนไชส์ ที่กล่าวมาแล้ว สิ่งที่ต้องทำอีกเมื่อจะขายแฟรนไชส์ ก็คือ การทำสัญญาแฟรนไชส์ การทำเอกสารและสื่อเพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์ การทำการตลาดสรรหาแฟรนไชส์ซี การคัดเลือกแฟรนไชส์ การสรรหาทำเลเปิดร้าน การสร้างร้าน และการอบรม

และเมื่อมีการขายแฟรนไชส์ไปแล้ว สิ่งที่ต้องทำก็คือ การเปิดร้าน การ เป็นพี่เลี้ยงในการดำเนินงานช่วงเริ่มต้น และสร้างระบบการสนับสนุนที่ต่อเนื่อง รวมไปถึง พัฒนาสิ่งใหม่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า อย่างไม่หยุดยั้ง

q14

เทคนิคการขายแฟรนไชส์ขั้นเทพ

ต้องยอมรับว่า การทำธุรกิจในยุคปัจจุบันมีการแข่งขันที่สูงขึ้น มีผู้เล่นหน้าใหม่หรือผู้ประกอบการใหม่เกิดขึ้นมากมาย ขณะที่แต่ละแบรนด์พยายามหาบทบาทในการเล่นให้โดดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่ง

เพื่อที่จะนำเสนอสิ่งใหม่ๆ ให้กับผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายของตนเอง ยิ่งเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ด้วยแล้ว ต้องพยายามค้นหา และคัดสรรกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ต้องการซื้อแฟรนไชส์ที่มีคุณภาพ เพราะพวกเขาเหล่านี้จะเป็นแขนขาช่วยพยุงธุรกิจแฟรนไชส์ให้เติบโตอย่างยั่งยืน

“ขายแฟรนไชส์” ต้องเลือกใช้สื่ออย่างถูกต้อง

q15

การวางแผนสื่อโฆษณาและการเลือกใช้เครื่องมือสื่อสารทางการตลาดที่ถูกต้อง จะช่วยให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวธุรกิจแฟรนไชส์ รวมถึงสินค้าหรือบริการไปสู่ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ถ้าพูดถึงสื่อ ให้คุณนึกว่าทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเรา สามารถเป็นสื่อได้ทั้งหมด การเลือกใช้สื่อจำเป็นต้องดูข้อจำกัดของสื่อโฆษณา ต้องพิจารณาประเภทของเนื้อหา ข้อมูลที่ต้องการสื่อออกไป พื้นที่ที่ต้องการให้ข่าวสารไปถึง ช่วงเวลาที่เหมาะสมสอดคล้องกับแผนการตลาดโดยรวมและการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์

แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น ข้อจำกัดในแผนงานสื่อทุกประเภท คือ งบประมาณที่ต้องบริหารให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด และคุ้มค่าต่อการลงทุน ปัจจุบันมีเครื่องมือการตลาดที่ใช้ได้ผล และนิยมใช้อยู่เป็นประจำ ได้แก่

1.การโฆษณา

tt1

เป็นวิธีที่สามารถเลือกใช้และกำหนดกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับธุรกิจได้อย่างเหมาะสม โดยใช้งบประมาณผ่านสื่อต่างๆ ทั้ง โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร สื่อกลางแจ้งและอื่นๆ

รวมถึงสื่ออินเทอร์เน็ต www.ThaiFranchiseCenter.com ที่กำลังมาแรงในยุคปัจจุบัน เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภค และลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นเว็บไซต์เดียวที่รวมรวมธุรกิจแฟรนไชส์ใหญ่ที่สุดในไทย มีความน่าเชื่อถือ ได้รับความไว้วางใจจากหน่วยงานรัฐบาล เอกชน รวมถึงผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ และSMEs อย่างต่อเนื่อง

2.การประชาสัมพันธ์

e2

 

เป็นกิจกรรมที่เสียค่าใช้จ่ายน้อย แต่ได้ผลคุ้มค่า โดยทำในรูปแบบของการจัดแถลงข่าว การทำข่าวแจก การให้สัมภาษณ์ เขียนบทความ การเปิดตัวสินค้า เป็นกลยุทธ์ที่ใช้สร้างภาพลักษณ์ที่ดีและมีประสิทธิภาพเสมอ

สำหรับเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดและการขาย ที่ต้องการขายแฟรนไชส์ ให้ตรงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ให้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ เชื่อถือได้ ลองพิจารณาใช้สื่อ www.ThaiFranchiseCenter.com ในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ รับรองไม่ทำให้ผิดหวัง หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/sponsor

3.การส่งเสริมการขาย

e6

เป็นรูปแบบกิจกรรมการสื่อสารการตลาดอีกรูปแบบหนึ่งที่กระตุ้นพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย โดยเสนอเงื่องไขพิเศษ เพื่อจูงใจให้เกิดการซื้อและทดลองอย่างรวดเร็ว

4.การจัดสัมมนา

e5

เป็นกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์ในการเน้นภาพลักษณ์ของธุรกิจ ซึ่งอาจจะทำในรูปแบบการสัมมนาทางวิชาการ การเสวนาธุรกิจ หรือการจัดสัมมนาสำหรับที่สนใจจะลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์

5.การจัดโรดโชว์

e3

การจัดโรดโชว์ ถือเป็นมิติใหม่ในการนำเสนอธุรกิจ โอกาสทางธุรกิจสำหรับนักลงทุนที่สนใจ สามารถที่จะทำร่วมกับภาครัฐและเอกชน ทั้งภายในและต่างประเทศ

6.การจัดนิทรรศการ ออกบูท

e4

เป็นกิจกรรมสื่อสารทางการตลาด เพื่อนำเสนอศักยภาพของธุรกิจแฟรนไชส์ รวมถึงผลงานความสำเร็จและนวัตกรรมใหม่ๆ เป็นอีกช่องทางการตลาดที่มักใช้ได้ผลดีในยุคปัจจุบัน

เห็นได้ว่าการวางกลยุทธ์ทางการตลาด เป็นงานที่มีความสำคัญมากในการทำธุรกิจแฟรนไชส์ ดังนั้น การเริ่มต้นด้วยการกำหนดทิศทางขององค์กรที่ถูกต้องเหมาะสม สร้างมาตรฐานคุณภาพของระบบธุรกิจทุกๆ ด้าน จึงเป็นการสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันของธุรกิจ และสามารถดึงดูดลูกค้าเป้าหมายเข้ามาร่วมลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ได้ง่ายขึ้น

สนใจซื้อแฟรนไชส์ต่างๆ คลิก goo.gl/XdMIMh

อ่านบทความแฟรนไชส์อื่นๆ คลิก goo.gl/jjVIWM

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/378JLt0

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช