“การตลาดสายตาสั้น” (ตอนที่ 3) โดย สุรวงศ์ วัฒนกูล

คิวสองแถว เคยติดเชื้อ “การตลาดสายตาสั้น ตอนที่ 3 ” ค่าบริการคนละ 10 บาท ป้ามีตังค์เหลือแค่ 8 บาท ก็พูดห้วนเหมือนตวาดไม่รับป้าขึ้นรถ ผมเคยนั่งรถสองแถววิ่งไปเพียงสามป้ายก็มีอีกคันขับตามหลังแซงมาทุบหลังคารถด้วยข้อหาว่าซิ่งตัดหน้าแย่งลูกค้าตกใจกันทั้งคันวันต่อมาผู้โดยสารก็เปลี่ยนใจไปยืนรอรถเมล์จะดีกว่าเมื่อปี 2554 ก็มีวิกฤตน้ำท่วม ทหารชั้นผู้น้อยถอยรถ GMC ออกมาตามคำสั่งให้ขับมารับส่งชาวบ้านฟรี

คิวสองแถวอารมณ์ไม่ดีหาว่ามาปาดหน้าเค้กทำให้รายได้หดจึงรุมกันขว้างรถทหารชาวบ้านก็หันมาเคืองสองแถวเพราะฉวยโอกาสคิดราคาแพงกว่าปกติลิบลับ ไม่ปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นเช่นนี้กันทุกคิวทุกคนแต่เวลาชาวบ้านรุมกันบ่นเขาจะเรียกรวมๆว่าไอ้พวกสองแถวแล้วใครจะช่วยแก้ข่าวให้ล่ะทีนี้

ตอนที่ 3

ปักหมุดกันอีกทีว่า อาการ “การตลาดสายตาสั้น” (Marketing Myopia) จะเกิดขึ้นเมื่อผู้ขาย ผู้ให้บริการ มัวแต่เน้นการขายมากกว่าการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ท่านใดที่สั่งซื้อ “โต๊ะวางของ” กับตลาดออนไลน์กันไหม แมสเซนเจอร์เอาของมาส่งให้มันกลายเป็น “โต๊ะวางโชว์” อย่ามาบอกว่า ราคาไม่กี่ตังค์จะผิดหวังอะไรกันนักหนา ไอ้ที่ควักจ่ายไม่ได้ทำให้ลูกค้าล้มละลายก็ใช่อยู่ ถ้านักขายเคยได้ดู แมวที่โกรธแล้วงอน มะนุดทาส ว่า มาอำให้เรางับปลาทูปลอมทำไม? มันเคืองคล้ายๆทำนองนั้นแต่แรงกว่านั้นเลยแหละ

“อย่าสำคัญผิดว่า เป้าหมายทางการตลาดระยะสั้น สำคัญมากกว่า เป้าหมายระยะยาว!”

Marketing Myopia ที่ ศาสตราจารย์ Theodore Levitt นำเสนอ ได้รับรางวัล McKinsey Awards ว่าเป็นบทความประจำปีดีที่สุด 4 รางวัล “การตลาดสายตาสั้น” เป็น 1 ใน 4 ของ ผลงานปัญญาภิวัฒน์ทางด้านการตลาด

16

GURU Aashish Pahwa ประมาณการ การตลาดสายตาสั้น ในโลกอนาคต เอาไว้ว่าถ้าธุรกิจอันทรงคุณค่า 2 วงศ์ กับอีก 1 องค์แอป ไม่รีบตรวจสอบและปรับตัว หัวอาจจะร้อนๆหนาวๆในไม่ช้าเครื่องซักแห้ง เส้นใยและสารเคมีชนิดใหม่จะส่งผลให้ความต้องการเครื่องซักแห้งลดลงร้านขายของชำ การเปลี่ยนแปลงสู่ไลฟ์สไตล์ดิจิทัลจะทำให้ร้านขายของชำหายไป

Facebook ธำรงด้วย GDPR กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของ สหภาพยุโรป และ กฎความเป็นส่วนตัวของข้อมูลใหม่ ถ้าไม่เปลี่ยนรูปแบบธุรกิจหรืออาจสูญเสียส่วนแบ่งตลาดโซเชียลมีเดียไปยังแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอื่นที่เน้นความเป็นส่วนตัว ระวังจะค้ำยันตัวเองไม่ทัน

15

มุมมองของผม ผมถือว่าเป็นการส่งสัญญาณเตือนใจทั้ง SME และ บริษัทระดับยักษ์ ให้รู้จักถนอมตัว ถนอมบริษัท ด้วยการ ถนอมวิธีการ กับ ถนอมลูกค้า ผลดีโดยรวมจะก่อตัวขึ้นเป็น “การถนอมการตลาด”

ถ้าเราเข้าถึงนัยได้ลึกขนาดนี้มีหรือที่เราจะไม่เอาคำแนะนำมาทำเป็นแว่นสายตามาสวมมองการณ์ไกลให้ชัดแจ๋ว ผมว่า ท่าน Theodore Levitt ควรจะได้รับ Nice Marketing War Room อีกหนึ่งรางวัล


วิทยากร : ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล

การตลาดสายตาสั้น

  • การตลาดสายตาสั้น หลักประเมินตัวตนไว้ให้พิจารณา 4 ประเด็น (ตอนที่ 1) – https://bit.ly/3SXXxoy
  • “การตลาดสายตาสั้น” (ตอนที่ 2) โดย สุรวงศ์ วัฒนกูล – https://bit.ly/3Ehkn6B
  • “การตลาดสายตาสั้น” (ตอนที่ 3) โดย สุรวงศ์ วัฒนกูล – https://bit.ly/3rw9GWf
  • “การตลาดสายตาสั้น” (ตอนที่ 4) โดย สุรวงศ์ วัฒนกูล – https://bit.ly/3EeL2Rp

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3C1Nubs

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต