กลยุทธ์ปรับตัวธุรกิจร้านอาหาร ช่วงโควิด-19

จากการระบาดอย่างรวดเร็วของเชื้อโควิด-19 ได้ส่งกระทบอย่างรุนแรงกับธุรกิจต่างๆ ไปทั่วโลก อันเนื่องมาจากการประกาศ ปิดเมือง ปิดพื้นที่เสี่ยง ห้ามเดินทาง ห้ามออกนอกบ้าน และขอความร่วมมือประชาชนให้ “อยู่บ้าน”

หรือ ทำงานจากที่บ้านส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้บริโภคหลายด้าน ที่ธุรกิจต่างๆ ต้องปรับตัวหาทางรอดจากวิกฤตดังกล่าว วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะมาบอก กลยุทธ์ปรับตัว ให้อยู่รอดของธุรกิจร้านอาหาร ในช่วงวิกฤตโควิด-19

ตั้งแต่การเกิดระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นต้นมา นับว่าเป็นความท้าทายอย่างมาก สำหรับธุรกิจร้านอาหาร ที่ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด รวมถึงต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการขายใหม่ ให้เข้ากับสถานการณ์โควิด

โดยร้านอาหารที่สามารเปิดดำเนินกิจการได้ ต้องเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการลูกค้า ด้วยการให้บริการผ่านการซื้อกลับบ้าน และบริการจัดส่งถึงบ้านแทนการรับประทานในร้านตามปกติ ซึ่งร้านอาหารทั่วไปอาจจะเข้าร่วมกับพันธมิตรแอปพลิเคชั่นจัดส่งอาหารต่างๆ หรือ จัดส่งเดลิเวอรี่เองเลย

กลยุทธ์ปรับตัว

ภาพจาก Manager Online

ขณะที่ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดยักษ์ใหญ่ที่เราเห็นตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป ก็จะมีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการเดลิเวอรี่มาก่อนแล้ว ซึ่งร้านอาหารเหล่านี้จะมีมาตรการและรูปแบบการให้บริการลูกค้าที่เป็นมาตรฐานเหมือนกันทั่วโลก จึงทำให้เชนร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดเหล่านี้ได้รับผลกระทบไม่มากนัก ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การดูแลของกลุ่มบริษัทที่มีทุนหนาอยู่แล้ว

นอกจากนี้ ธุรกิจร้านอาหารจะต้องให้ความสำคัญในเรื่องการรักษามาตรฐานต่างๆ ทั้งความสะอาด การจัดส่ง ราคา คุณภาพ ด้านเวลา ด้านศูนย์บริการข้อมูลแก่ผู้บริโภค และด้านสุขอนามัย ซึ่งถือเป็นหัวใจของธุรกิจร้านอาหารในช่วงวิกฤตโควิด-19 การร่วมมือกับแพลตฟอร์มการสั่งอาหารออนไลน์สามารถเพิ่มพื้นที่การให้บริการในการเข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้นอีกด้วย

สำหรับร้านอาหารใหญ่ๆ มีชื่อเสียง ก็จะต้องไม่ลืมในเรื่องของการสร้างการจดจำ และสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องของความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารผ่านการใช้สื่อโทรทัศน์ สื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และ Search Engine Marketing เพราะช่วงเวลานี้ผู้บริโภคจะค้นหาข้อมูลเพิ่มมากขึ้นกว่าสถานการณ์ปกติ

9

ภาพจาก bit.ly/34ZI3IU

ส่วนร้านอาหารปกติทั่วไปที่เปิดตามตึกแถวต่างๆ สามารถนำเสนอโปรโมชั่นและส่วนลดพิเศษ เพื่อเป็นการดึงผู้บริโภคให้เกิดการกลับมาที่ร้าน เมื่อสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติได้อีกด้วย

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการก็เปลี่ยนรูปแบบจากมีหน้าร้าน เป็นเปิดขายอาหารแบบไม่มีหน้าร้าน โดยกระบวนการทำอาหารอาจจะถ่ายทอดสดผ่านสื่อออนไลน์ให้ลูกค้าได้เห็นขั้นตอนต่างๆ เพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้าได้อีกทางหนึ่ง

สำหรับช่องทางการไลฟ์สดขายอาหารผ่านทางอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นช่องทาง Feacebook, Youtube หรือช่วงทางแพลตฟอร์มอื่นๆ อย่าง Live Streaming เพื่อถ่ายทอดสดให้ลูกค้าเห็นว่า วัตถุดิบทำอาหารสดแค่ไหน มีอะไรบ้าง สะอาดและปลอดภัยแค่ไหน หรือถ่ายทอดในช่วงกระบวนการทำอาหารจริงๆ เพื่อให้ลูกค้าเชื่อมั่นในการผลิตอาหาร หรือลูกค้ามีส่วนร่วมในการปรุงอาหารเอง หลังจากนั้นก็ขายผ่านช่องทางออนไลน์ สร้างเพจ และร่วมกับแอปฯ จัดส่งอาหารต่างๆ

โดยผู้ประกอบการที่ขายอาหารแบบไม่มีหน้าร้าน จะต้องให้ความสำคัญในเรื่องต่อไปนี้

1. รสชาติอาหารอร่อย สะอาด

8

ภาพจาก freepik

พื้นฐานที่ดีของการขายอาหารไม่ว่าเปิดหน้าร้าน หรือไม่มีหน้าร้านในช่วงโควิด-19 นั่นคือ ความสะอาด รสชาติอร่อย ในกรณีที่คุณทำอยู่ในบ้านหรือในที่พักของคุณ ถ้าเป็นไปได้คุณจะไลฟ์สดเลยก็ได้ โดยจัดสถานที่ให้เป็นสัดส่วนเเละให้ดูสะอาดตา เพื่อเเสดงความจริงใจและสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้าได้เห็น ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนต่างๆ ในห้องครัว ทั้งอุปกรณ์ทุกอย่างต้องสะอาด เห็นสภาพเเวดล้อมถูกสุขอนามัย กรรมวิธีในการทำตรวจสอบได้ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นในอาหารของคุณ

2. ราคาเหมาะสม ค่าจัดส่งไม่แพง

7

ภาพจาก freepik

การขายอาหารแบบไม่มีหน้าร้าน คุณจะต้องเน้นการจัดส่งอาหารเป็นบริการหลัก ผู้ขายจะต้องตั้งราคาอาหารให้เหมาะสม ไม่เเพงจนเกินไป หรือถ้าลูกค้าบางคนอยู่ในพื้นที่ใกล้ๆ บ้านของคุณ ก็อาจจะใช้บริการจักรยานยนต์รับจ้างให้ไปส่งอาหาร คุณไม่ควรไปคิดค่าจัดส่งเพิ่มจากราคาจริงของการส่งถึงบ้าน ควรเรียกเก็บตามราคาปกติของระยะทาง เพราะจะเป็นการเอาเปรียบลูกค้า เเละทำให้ลูกค้ามีค่าใช้จ่ายในการจัดส่งสูงเกินไป สุดท้ายก็ไม่มีกำลังซื้อ คุณก็ขายอาหารยากเข้าไปอีก

3. ปริมาณ บรรจุภัณฑ์มาตรฐาน ทนทาน

6

ภาพจาก bit.ly/2S0EQnq

การขายอาหารไม่มีหน้าร้าน เรื่องของปริมาณอาหาร และบรรจุภัณฑ์ใส่อาหาร ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ต้องมีมาตรฐาน ไม่เอาเปรียบลูกค้า การทำอาหารทุกทุกขั้นตอนต้องได้มาตรฐาน ปริมาณเหมาะสมกับราคาที่ส่งมอบอาหารให้ลูกค้า

สิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือ ในการขายอาหารไม่มีหน้าร้าน คุณต้องใส่ใจกับการบรรจุภัณฑ์ใส่อาหารให้ดี มีคุณภาพมาตรฐาน แข็งแรง ทนทาน เพื่อป้องกันการเกิดความเสียหายระหว่างการจัดส่ง หรือเกิดความเสียหายน้อยที่สุด


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2YczRUn

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช