กรณีศึกษาแฟรนไชส์ 7-Eleven

เมื่อปี 2016 ธุรกิจ แฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ในสหรัฐอเมริกา ก้าวขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยมและประสบความสำเร็จมากที่สุด โดยได้รับการจัดอันดับโดย เว็บไซต์ Entrepreneur.com

จากธุรกิจแฟรนไชส์ทั้งหมด 500 กิจการ และในเมืองไทยก็เป็นธุรกิจแฟรนไชส์กลุ่มค้าปลีกที่ประสบความสำเร็จอย่างมากเช่นเดียวกัน โดยในปี 2518 คาดว่า 7-Eleven จะสามารถขยายสาขาร้านสะดวกซื้อทั้งสิน 10,000 สาขา

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จึงนำเสนอกรณีศึกษาความสำเร็จของแฟรนไชส์ 7-Eleven เป็นธุรกิจแฟรนไชส์ค้าปลีกที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก และเป็นแฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก

เซเว่น อีเลฟเว่น (7-Eleven)

แฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อ

ภาพจาก goo.gl/nmJRdV

เซเว่น อีเลฟเว่น (7-Eleven) เป็นแฟรนไชส์ของร้านสะดวกซื้อ จำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุดที่มีสาขาทั่วโลกมากที่สุด

ชื่อและระบบแฟนไชส์ 7-Eleven เป็นลิขสิทธิ์ของ บริษัท เซาท์แลนด์ คอร์ปอเรชั่น สหรัฐอเมริกา โดยชื่อของ 7-11 สื่อถึงเวลาที่เปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่ 07.00 – 23.00 น.ในช่วงเวลานั้น

ประวัติ

tt4

ภาพจาก goo.gl/7F1TiA

จุดกำเนิดของร้านค้าสะดวกซื้อชื่อดังต้องย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ.2470 บริษัทเซาท์แลนด์ ไอซ์ ซึ่งก่อตั้งโดยนายจอห์น เจฟเฟอร์สัน ได้เปิดร้านให้บริการน้ำแข็งตอบสนองความต้องการลูกค้าแทบจะตลอดวัน (ประมาณ 16 ชั่วโมง/วัน) ในช่วงฤดูร้อนและไม่มีวันหยุดเลย สร้างความพอใจให้กับลูกค้าและสร้างชื่อเสียงให้กับร้านมาก

ต่อมาเริ่มมีการขยายสินค้าไปสู่สินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆ กลายเป็นลักษณะของร้านชำหรือร้านสะดวกซื้อ ใช้ชื่อร้านว่า โทเทม สโตร์ Tote”m Store และแนวคิดนี้กลายเป็นปรัชญาสำคัญของร้านเซเว่น อีเลฟเว่นในปัจจุบัน

จุดหักเหของธุรกิจจากร้านค้าปลีกเล็กๆ จนกลายเป็นธุรกิจใหญ่โตมีนายโจ ทอมป์สัน เป็นผู้คิดพัฒนารูปแบบร้านค้าสะดวกซื้อให้กลายเป็นธุรกิจคอนวีเนียนสโตร์เต็มรูปแบบ เพียง 12 ปีหลังการก่อตั้ง ขยายร้านได้ถึง 60 สาขาทั่วดัลลัส รายได้และกำไรหลักๆ มาจากยอดขายสินค้าอื่นๆ และจำนวนร้านที่ขยายเพิ่มมากขึ้น

tt3

ภาพจาก goo.gl/YNNkyz

ปี พ.ศ. 2488 บริษัทเปลี่ยนชื่อเป็น เซาธ์แลนด์ คอร์ปอเรชั่น มาจนถึงปัจจุบัน ถัดมาอีกปี ได้เปลี่ยนชื่อร้านค้าปลีกเป็น Seven-Eleven เซเว่น-อีเลฟเว่น ภายใต้เครื่องหมายการค้า 7-Eleven เพื่อรองรับการขยายกิจการนี้

เนื่องจากต้องการสื่อถึงเวลาที่เปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่ 07.00-23.00 น. ซึ่งก็คือ 07.00 am.-11.00 pm. นั่นเอง ธุรกิจ 7-eleven ขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนราวปี 2493-2503 ได้รับความนิยมสูงสุดจากการสำรวจทางโทรทัศน์ กระทั่งปี 2517 เริ่มขยายกิจการสู่ประเทศญี่ปุ่น และประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน จากนั้นก็แพร่หลายไปทั่วโลก

tt6

ภาพจาก goo.gl/XZ5y2K

7-eleven เริ่มเข้ามาสู่ประเทศไทยในสมัยที่สภาพสังคมกำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจแบบสังคมเมือง ชีวิตประจำวันเต็มไปด้วยความเร่งรีบแข่งกับเวลา ทางเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือซีพี เห็นว่าธุรกิจนี้สอดคล้องกับสังคมที่กำลังจะเปลี่ยนไปจึงได้เซ็นสัญญาซื้อสิทธิประกอบกิจการค้าปลีก (License) ภายใต้ชื่อ 7-Eleven มาจากบริษัทเซาท์แลนด์ คอร์ปอเรชั่น ในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2531

หลังจากใช้เวลาศึกษาธุรกิจมาเป็นเวลา 1 ปีเต็ม โดยเปิดร้านสาขาแรกในเมืองไทยตรงหัวมุมถนนพัฒน์พงษ์ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2532 จากนั้นก็เพิ่มสาขาเรื่อยมาจนปรากฏให้เห็นทั่วประเทศ

tt7

ภาพจาก goo.gl/XZ5y2K

จากวันแรกที่ 7-Eleven เปิดให้บริการที่ซอยพัฒนพงษ์เมื่อ 15 ปีที่แล้ว ถึงวันนี้สังคมไทยคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับร้านค้าแห่งนี้ที่ขยายสาขาครอบคลุมและแทรกตัวอยู่ตามชุมชนทั่วประเทศ และมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการถึงวันละกว่า 3 ล้านคน

วลีที่ว่า “รับขนมจีบ ซาละเปาเพิ่มไหมคะ” ที่แคชเชียร์ร้าน 7-Eleven จะเอ่ยถามลูกค้าทุกครั้งที่ชำระเงินนั้น เมื่อดูจากตัวเลขการขายโดยเฉลี่ยแล้ว จะมีการกล่าวถึงวลีนี้ในแต่ละสาขาวันละกว่า 1,000 ครั้ง เมื่อคูณกับจำนวนสาขาที่มีอยู่กว่า 3,000 แห่งด้วยแล้วน่าจะทำให้คำกล่าวอันเป็นเอกลักษณ์ของร้าน 7-Eleven กลายเป็นวลีที่มีการกล่าวมากที่สุด

ปัจจุบัน 7-Eleven ได้รับความนิบมอย่างมาก มีลูกค้าในแต่ละวันรวม 11 ล้านคน หรือเฉลี่ย 1,200 คน/สาขา และมีการจำหน่ายสินค้าในระบบวันละ 30 ล้านชิ้น ด้วยยอดขายในปี 2558 คือ 391,817 ล้านบาท

แนวคิดธุรกิจ

tt8

ภาพจาก goo.gl/F5hvMs

7-Eleven มีประวัติยาวนานเกือบหนึ่งศตวรรษ ก่อกำเนิดขึ้นมาจากแนวคิดของ จอห์น เจฟเฟอร์สัน กรีน หรือ อังเคิล จอห์นนีย์ ในปี พ.ศ.2470 ก่อนจะใช้ชื่อ เซเว่นอีเลฟเว่น ผู้เริ่มต้นบุกเบิกได้จัดตั้ง บริษัทเซาธ์แลนด์ไอซ์คัมปะนี ที่เมืองดัลลัส มลรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา

ดำเนินธุรกิจจำหน่ายน้ำแข็งที่ใช้สำหรับเก็บอาหารในการขนส่ง รวมทั้งเพื่อใช้บริโภค จากนั้นในปี พ.ศ. 2489 ก็ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น เซเว่นอีเลฟเว่น (7-ELEVEN) เพื่อชี้บอกเวลาเปิดดำเนินการของร้านค้ายุคนั้น ตั้งแต่ 7 โมงเช้าถึง 5 ทุ่มทุกวัน

เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2531 ผู้นำซีพีกรุ๊ป ตัดสินใจเซ็นสัญญาซื้อลิขสิทธิ์ยี่ห้อ เซเว่นอีเลฟเว่น ต่อมาวันที่ 10 พฤษภาคม 2532 ได้จดทะเบียนในนามบริษัท ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด(มหาชน)

ตลอดระยะเวลาของการดำเนินงาน ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น มีสาขากระจายไปทั่วประเทศกว่า 8 พันสาขาแล้ว และตั้งเป้าขยายสาขาให้ถึง 1 หมื่นสาขาในปี 2561 ด้วยปรัชญาที่ว่า ก้าวหน้าด้วยคุณภาพ ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำยุค และบริการที่เป็นเลิศ จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคกว่า3,000 ชนิด มียอดขายประมาณปีละ 20,000-26,000 ล้านบาท

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

tt10

1.การบริหารและวิธีการขยายสาขาเพื่อประสิทธิภาพและเหนือผู้แข่งขัน

มีการกำหนดตัวแบบการบริหารและการจัดการสมัยใหม่จากบริษัทเซาธ์แลนด์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวคือ โครงสร้างองค์การแนวราบ ระบบการทำงาน ระบบเอกสาร ระบบสนับสนุนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ มุ่งพัฒนาคนควบคู่กับวิทยาการจัดการสมัยใหม่ กำหนดงานให้เหมาะสมกับคน และกำหนดคนให้เหมาะสมกับงาน

tt11

2.การขยายสาขาด้วยระบบแฟรนไชส์

เพื่อสนองนโยบายขยายสาขาอย่างรวดเร็วตั้งแต่ พ.ศ. 2534 บริษัท ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด ได้เปิดระบบแฟรนไชส์ ขยายสาขาไปทั่วประเทศด้วยยุทธศาสตร์แบบจากเมืองสู่ป่าโดยใช้ป่าล้อมเมือง ขยายสาขาออกไปสู่ต่างจังหวัดทั้งที่เป็นชุมชนในเมืองใหญ่และชานเมืองโดยประสานวิธีการ 3 ประการเข้าด้วยกัน

  • ประการที่ 1 บริษัท ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด เป็นผู้ลงทุนขยายสาขาเองร้อยเปอร์เซ็นต์
  • ประการที่ 2 มีการร่วมทุนกับนักลงทุนท้องถิ่นในลักษณะแฟรนไชส์ ซึ่งเป็นการร่วมลงทุนระหว่างบริษัทกับผู้สนใจ
  • ประการที่ 3 เปิดให้ร้านผู้ค้าส่งหรือผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่หรือนักลงทุนหน้าใหม่ ที่ไม่เคยประกอบธุรกิจการค้าปลีกมาก่อนได้รับสิทธิช่วงในอาณาเขต เรียกย่อๆ ว่า ระบบแฟรนไชส์ซีซัพเอเยนต์

tt14

3.การสนับสนุนช่วยเหลือแฟรนไซส์ชี

บริษัท ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด ให้ความช่วยเหลืออย่างใกล้ชิดแก่แฟรนไซส์ ดังนี้

  • ให้ความช่วยเหลือในการบริหารงาน ได้แก่ ระบบการเงิน การจัดสต็อกสินค้า การคัดเลือกสินค้า การฝึกอบรมพนักงาน เป็นต้น
  • การจัดส่งเจ้าหน้าที่ของบริษัทไปช่วยในการจัดวางสินค้าแก่ร้านที่เปิดใหม่ในช่วง 2 เดือนแรก
  • ให้ยืมอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบธุรกิจตลอดอายุของสัญญาโดนร้านค้าต้องร่วมรับผิดชอบค่าบำรุงรักษา
  • วางแผนการตลาดด้านการโฆษณา การออกแบบร้าน และการจัดการส่งเสริมการขาย

tt12

4.กลยุทธ์ทางการค้าแบบใหม่

  •  ผสมผสานระหว่างจุดเด่นของร้านโชว์ห่วยกับร้านสะดวกซื้ออย่างผสมกลมกลืน
  • เลือกทำเลที่ตั้งร้านให้เหมาะสมและจัดวางสินค้าอย่างเป็นระบบระเบียบง่ายแก่การเลือกซื้อ
  • คนคือหัวใจสำคัญของเซเว่นอีเลฟเว่น สร้างความเป็นเลิศด้วยการทำงานเป็นทีม
  •  รวมคนเก่งและซื่อสัตย์ เน้นวิธีการกระจายอำนาจ
  • เผชิญหน้ากับการแข่งขันอย่างไม่หวั่นเกรงด้วยนโยบายก้าวกระโดดอย่างรวดเร็ว ขยายสาขาอย่างรีบเร่ง
  • จากเมืองสู่ป่า ใช้ป่าล้อมเมือง
  • ปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์สามารถเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส
  • เพิ่มยอดจำหน่ายเพิ่มรายได้และลดต้นทุนค่าใช้จ่าย
  • ใช้เทคโนโลยีที่ก้าวล้ำยุคและการบริหารทุกระดับประทับใจ
  • พัฒนาไปสู่การเป็น “วัน สต็อป เซอร์วิส” (One Stop Service) เพื่อบริการลูกค้าแบบเบ็ดเสร็จในจุดเดียว

ทั้งหมดเป็นความสำเร็จของ 7-Eleven ธุรกิจแฟรนไชส์ร้านสะดวก ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ติดอันดับ 1 ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในปี 2559 จากการจัดอันดับโดย Entrepreneur.com

เจ้าของธุรกิจที่กำลังเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ก็สามารถนำเอาหลักการและแนวทางในการดำเนินธุรกิจ 7-Eleven ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจของตัวเองได้

อ่านบทความแฟรนไชส์อื่นๆ คลิก goo.gl/agvfJp
สนใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ต่างๆ คลิก goo.gl/VO1LU5

ภาพจาก facebook.com/7ElevenThailand

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3l4JJrh

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช